ดนตรีคลาสสิค
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
บทสัมภาษณ์
บอม : Counter strike ไปเล่น แล้วก็เจอ แน็ป แล้วก็นั่งคุยกัน อ๋อ ชอบตกปลาเหมือนกันเหรอ คุยกันเดี๋ยวจะไปตกปลา แล้วก็ไปด้วยกัน แล้วก็วันที่ไปตกปลา แน็ปเค้าก็เอาวิทยุไปด้วย แล้วเค้าก็เอาเทปเป็นเพลงร็อคไป แล้วเราได้ยินเค้าเปิด เอ๊ ชอบฟังเพลงแบบนี้เหมือนกันเหรอ มีวงไหม เราเองก้คิดจะทำวงอยู่ แน็ปเค้าบอกว่าไม่มี ก็มาลองรวมๆกันตอนนั้นมี แน็ป ตีกลองแล้วก็ร้องนำด้วย ส่วนผมก็เล่นเบส แล้วมีพี่ชายผม อีกคนนึงเล่นกีตาร์ แล้วผมกับน๊อตเป้นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยมัธยม ก็ชวนมา เล่นไปได้สักพักก็รู้สึกเหมือนกับว่ามันขาดอะไรสักอย่างไป ขาดคน เอ็นเทอร์เทนข้างหน้า มันขาด front man แล้วก็เลยเปิดออดิชั่น รับสมัครมือกลอง ให้ลองมาตีดูบ้าง ส่งเดโม่มาบ้าง มีเข้ามาลองกันเยอะ เหมือนมันไม่โดนอ่ะ มันไม่เข้าล็อคไม่เข้าขากัน มีเพื่อนของแน็ป แนะนำมาบอกว่ารู้จักมือกลองอยู่คนนึง เค้าเอาเดโม่มาให้ ผมก็ฟังแล้วเออ ตีดีผมก็โทรไปหาเค้า ก็นัดเค้ามาซ้อม ปรากฎว่าวันที่มาซ้อม 2 คนนี้เค้าเจอหน้ากันแล้วก็ อ้าว เค้าเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยประถมไม่เจอกันมา 10 กว่าปี พี่เค้าไปเรียนต่อ อเมริกา ตอนแน็ปเริ่มมาร้องนำ พี่เค้าก็ไปเรียนต่อ อเมริกา ตอนแรกยังไม่ใช้ชื่อนี้ มันไม่มีชื่อ ไม่ได้ตั้งชื่อ แค่เล่นๆ
พี : ชื่อของ Retrospect มาจากไหน
แน็ป : มาจาก Dictionary วันนั้นเราไม่รู้จะทำไง เราก็เลยเปิด นี่แล้วก็จิ้ม ปรากฎว่าไปลงที่ตัว R ก็เจอคำว่า Retrospect ความหมายของมันก็คือ การ รำลึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เผอิญพวกเราชอบเล่นกับคำ พวกเราชอบสวนกระแส เพราะตอนนั้นมันจะมีดนตรีไม่หนักไปเลยก็เบาไปเลย underground ก็ underground ไปเลย เพลงที่เป็น pop ก็ pop ไปเลย บังเอิญเรามี concept อยู่ว่า มีดนตรีที่หนักหน่วง มีเมโลดี้ที่ อ่อนหวาน มีเนื้อหาที่ บาดลึก เราเลยคิดว่า คำว่า Retrospect เหมาะสมที่สุดแล้ว
อ๊อฟ : ตกลงแปลว่าอะไร
บอม : แปลว่า มุมมองกลับ การมองสวนกระแส อย่างที่แน็ป เค้าบอก มันเป็นการสร้างผลงานแบบ ใรยุคที่เพลงแนวอื่นกำลัง ครองตลาด ย้อนไปสมัย 10 กว่าปีมาแล้ว ไม่ต้องกังขาเลย rock ครองประเทศ มีไมโคร หินเหล็กไฟ นูโว ก็มี ร็อค ครองประเทศมากๆ แต่ว่าช่วงที่เราสร้าง Retrospect ขึ้นมาเนี่ย เรารู้สึเหมือนกับว่า แบบ เหมือนวงร็อคมันหายไปเยอะ เราเลยคิดว่ามันเป็นการทำสวนทางกับ main stream
อ๊อฟ : แต่เป็นการสวนกระแสที่เราชอบอยู่แล้วด้วยใช่ไหม แล้วที่เล่นกันตอนแรก เล่นกันทำไม
น็อต : เล่นกันเอง คุยกันว่า บอม เย็นนี้ว่างไหม แน็ปว่าง เบิร์ทว่าง ก้จะไปรวมกันที่บ้าน แน็ป เล่นเพื่อความสุขของพวกเราเอง
อ๊อฟ : เล่นเพื่อความสุข แล้วเคยประกวดกันไหม
บอม : รวมกันไม่เคย ก่อนหน้านั้นเคยประกวดกัน ของผม เคยประกวด Hot wave Music Awards ครั้งที่ 2 กับ 3 ไม่ได้รางวัลครับ แต่เข้ารอบ 10 วงสุดท้าย 2ปีเลย ตอนนั้นยังเด็กอยุ่เลย ผมเพิ่ง ม. 2 เอง ม.2 ม.3 จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นวงที่เด็กที่สุดอยู่ มี ม.3 คนเดียวในวง แข่ง 2 ปีเข้ารอบ 10 วง สุดท้าย 2 ปี แต่ไม่ได้อะไรเลย มันดูน่าเบื่อ พอดีกว่า มันประจวบเหมาะกับที่ว่า ขึ้น ม.4 แล้วก็ย้ายโรงเรียนกันไป ด้วย คือเราไปแข่งเนี่ย พูดตามตรงนะ การแข่งดนตรี ถ้าแข่งเพื่อหวังผลรางวัส คุณจะไม่ได้อะไรจากมันเลย ได้แค่ถ้วย เงิน ถ้าคุณหวังว่าคุณไป เพื่อได้ประสบการณ์ เพื่อมุมมองใหม่ๆ เพื่อได้รู้จักกับเพื่อนๆนักดนตรี คุณได้รางวัลมาก็เหมือนกับ bonus เท่านั้นเอง ได้แค่ประสบการณ์ก็คุ้ม พอแล้ว ก็เลยคิดว่าแข่งมา 2 ปีเราก็เข้าใจอะไรมากขึ้น เรารู้จักพี่ๆวงหลายๆวง ซึ่งตอนนี้เข้าก็อยู่ในวงการหลายๆวง ตอนที่ผมแข่งก็มี ลาบานูน crash กะลา ต่อให้ไม่รู้จักเค้าก็ยังจำได้ว่าเคยเจอกัน
แน็ป : ของแน็ปแข่ง Hot wave ครั้งที่ 5 แต่ว่าไม่ได้เข้ารอบอะไรเลย แต่ว่าเพลงถูกเปิดออกอากาศ ครั้งนึง เพลงตอนนั้นที่ทำ จะเป็น dead metal hardcore แต่ว่าเอาเพลงพี่มอส มาcover สลัดสะบัด ก็ได้ออกอากาศครั้งนึง ก็รู้สึกดีใจมากๆเลย เป็นแบบนี้แหละครับ แต่ไม่มีเมโลดี้เลย ว๊าก ทั้งเพลง
น็อต : ของผมประกวดปีเดียวกับ แน็ป แต่ไม่ได้อะไรเลย นั่งอยู่บ้าน โทรหาบอมให้ฟังเพลง ของ แน็ป ไม่รู้เหตุผลอะไร มาเจอกันมารวมเป็นวงเดียวกันซะอย่างนั้น
บอม : มันเหมือนเป็นพรหมลิขิต
พี : วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ วง Big ass มากๆๆ
บอม : พูดจริงๆนะ มันเหมือนมีเส้นด้ายอะไรสักอย่าง จูงเราเข้ามา
อ๊อฟ : มีด้านแดงที่นิ้วก้อยป่าว
บอม : อย่าง เบิร์ท กับ แน็ป เค้าก็รู้จักกันมาก่อน อย่างผมกับ แน็ปก็รู้จักกันมาก่อน คบกันมา 7 ปีแล้ว มันมารวมกันด้วยเหตุผลแปลกๆ และ เส้นทางแปลกๆ อยู่ๆก็มารวมกัน มันเกิดขึ้นโดนที่เราไม่รู้ตัว อยู่ๆก็มาถึงวันนี้แล้ว
เบิร์ท : ของผมก็ Hot wave ครั้งที่ 6 ไม่ได้อะไร ถ้าเป็นเด็กมัธยม แล้วเล่นดนตรีต้อง Hot wave ครับ มันเป็นอะไรที่ต้องทำ
บอม : ถ้า เบิร์ท ไม่ได้แข่ง Hot wave ก็คงไม่ได้มารวมกัน เพราะว่า เบิร์ทก็จะไม่มี เดโม่อันนั้น ออกมาก
เบิร์ท : ก้จะไม่มี เดโม่อันที่ส่งมาให้ฟังกัน
พี : จาก Hot wave จนมาถึงเพลง ไม่มีเธอ ที่เราได้ยินกัน มันมาได้ยังไง
แน็ป : หลังจากที่เราเริ่มทำวงกัน เราก็เริ่มสร้างผลงาน เราทำเองทุกขั้นตอนอัดกันเอง บงประมาณก็ไม่มี คอมก็ห่วยๆ ทำเพลงนึงก้ต้องลบเพลงนึง Hard disk มันเต็ม พอเสร็จเพลงนึง ต้องลบทุกอย่างของเพลงก่อนหน้า ต้องเลือกแล้ว
บอม : write ก็ไม่ได้ แต่ก่อนไม่มีเครื่อง write cd ด้วย
พี : แล้วทำไง
บอม : ต้องไปเอาของบ้านคนอื่น ยกไปทั้ง tower เลย
แน็ป : for your ears only หลังจากที่เราทำ EP กันเราก็ไปวางขายกันครั้งแรกที่ งานใต้ดิน งานของเด็กดนตรีที่ฟังเพลงหนักๆ ที่เรียกตัวเองว่า เด็กเสื้อดำ เป็นเด็กฟังเพลงรุนแรง แต่เป็นคนดีครับ พูดถึงน้องๆทุกคน อย่างวัฒนธรรมการดู คอนเสิร์ตของ Retrospect คือจะมีใครลมก็จะจับมือกัน ขอโทษกันตลอด ไม่เคยมีตีกัน จากนั้นก็เล่นคอนเสิร์ตใต้ดิน เล่นไปเรื่อยๆจนไปเจอกับกลุ่มดนตรี spin map ตอนนั้นมี 4 วง ซึ่ง Sweet mullet ตอนนั้นเค้าได้ เซนต์สัญญากับ ค่าย จินนี่ record แล้ว เค้าเลยแนะนำ retrospect ไปคุยกับผู้ใหญ่ในจินนี่ เพราะว่าเค้าต้องการวง ร็อคหนักๆพอดี ก็เลยได้เซ็นสัญญาในเวลาต่อมา
พี : รู้สึว่าประสบความสำเร็จแล้วรึเปล่า
บอม : มันไม่ใช่ประสบควงามสำเร็จแล้ว มันแค่ คือว่า ฝันส่วนนึงเป็นจริง
แน็ป : เรายังพูดกันเล่นๆอยู่เลยว่า ถ้าเราทำวงแล้วได้เซ็นกับแกรมมี่ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น พูดกันเล่นๆสนุกๆ
อ๊อฟ : เริ่มเล่นดนตรีกันมานานรึยัง
เบิร์ท : ของผมประมาณ 16 อยู่ ม.4 ให้แม่ซื้อกลองให้เลย ยังตีไม่เป็น เอากลองมาตั้งแล้วก็ตี จนตำรวจมาจับ ตอนนี้เค้าก้ไม่ใส่ใจแล้ว เค้าชินไปแล้ว
น็อต : เริ่มประมาณ ม.3 -4 เล่นกีตาร์เป็นชิ้นแรก เคยคิดว่าจะเปลี่ยนแต่ก็อย่าเลย ทำอย่างเดียวให้มันดีๆกว่า
บอม : บอม นานอ่ะ น่าจะสัก 10 ปีที่แล้วมั้ง เริ่มเครื่องเป่า เล่นพวกเครื่อง Blass พวก tuba trombone จากวงโย เสร้จมาเล่น double bass
พี : น่าสนใจ ไม่เอา double bass มาใช้กับวง
บอม : ตอนแรกก็คิด แต่จังหวะผู้ใหญ่อยากให้งานเสร็จเร็วๆ เพราะว่าคิวมันต้องออกแล้ว เอาไว้อัลบั้มหน้า
แน็ป : จริงๆแล้วไม่ใช่นักร้อง ไม่ได้อยากเป็นด้วย เล่นกีตาร์มา เล่นกลอง เข้าม. ต้น มาชื่อโรงเรียนสังคีตวิทยา ก็เรียนสายกีตาร์คลาสิค เพื่อนๆทำวงกัน เล่นครบทุกอย่าง สุดท้ายเพื่อนไล่มาร้อง
พี : วิธีการร้องได้มาจากไหน
แน็ป : จากที่ฟังเพลง ร็อค metal ฟังจากวงเมืองนอก ถ้าเราทำได้อย่างเค้ามันจะเจ๋งมากเลย ก็ลองทำดู วันแรกที่ทำ คอพังไปอาทิตย์นึงเลย มันคือการฉีกทฤษฏีการร้องเพลง อย่างหน้ากลัวมากๆ มันคือการทำงายเส้นเสียง แต่ว่าพอหลังจากนั้น 1 อาทิตย์เสียงกลับมา มันมีความแตกมันมีทุกอย่างที่มันไม่เคยมี มันพังไปแล้ว แต่เมโลดียังร้องได้ หลังจากนั้นก้รู้วิธีการ ร้องเสียงยังไง หลบยังไงให้ไม่เจ็บคอ และให้เสียงที่ได้ยินเท่าเดิม เรียนรู้จากตัวเอง กับเพลง cd
พี : แล้วตอนนี้คือ สามารถทำเสียงแตกๆ หรือที่เรียกว่าแหกปาก ได้โยที่ไม่มีการระคายคอ รึเปล่า
แน็ป : มันก้มีบ้าง แต่ไม่ถึงกับเจ็บ ไม่มีเสียงเลย
พี : พูดๆแบบนี้ทไเสียงแตกๆได้ไหม
แน็ป : ได้

ออร์เคสตรา (Orchestra)
"ออร์เคสตร้า" เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึงสถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัยกรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียงสำหรับดนตรีตะวันตก ,ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนี ออร์เคสตรา คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี ... ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต ,ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสาย (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน โดยบางครั้งอาจจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในออร์เคสตราราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้ อุปรากร และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตรา หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตรา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)